การตั้งเป้าหมาย ส่งทุกความคิดเหห็นได้ที่ ติดต่อ ทัต ณ ฝั่งโขง บนเฟชบุค
เกี่ยวกับเว็บไซต์คิดบวก หมวดหมู่บทความคิดบวก ข่าวประชาสัมพันธ์ ธรรมะ,ข้อคิด,ท่าน ว.วชิรเมธี, ติดต่อทีมงานคิดบวก
  HOME ::

ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ>>
Loading
 
ภัยพิบัติจากการรับพนักงานใหม่
 ในฐานะของคนทำธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เมื่อธุรกิจมีการขยายตัว
คือการจ้างงานพนักงานใหม่เข้ามาช่วยงาน แน่นอนว่าสำหรับการจ้างงาน
กระบวนการแรกที่ต้องพบเจอคือการสรรหาบุคลากร 

      จากหัวข้อที่จั่วไว้ข้างบน เรามาคุยกันสักหน่อยว่าอะไรเป็นภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ในการจ้างพนักงานใหม่ ...
ไม่ต้องคิดนาน อย่างแรกเลยคือ การใช้เวลาที่มากเกินไปกับการได้คนที่ไม่เหมาะสมเข้ามาร่วมงานด้วย 

      การรับคนเข้าทำงานเริ่มตั้งแต่การสรรหา จนไปถึงผู้ที่เข้ามาร่วมงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องยอมรับว่าเป็นการใช้เวลาที่ค่อนข้างนานกว่าจะจบสิ้นกระบวนการทั้งหมด ซึ่งหากมาพบในช่วงปลายของกระบวนการว่าพนักงานที่เลือกเข้ามาไม่เหมาะสมกับงานที่ให้ทำ ผลที่ตามมา
คือความหายนะและความปวดหัวของคนอื่น ๆ ในองค์กร บวกกับวงจรของการสรรหาที่ต้องเริ่มตั้งแต่ต้นใหม่อีกรอบ

      ดังนั้น หากต้องการให้วงจรการสรรหาเกิดขึ้นซ้ำน้อยที่สุด สิ่งสำคัญที่ต้องทำในฐานะเจ้าของกิจการหรือหัวหน้างาน คือ การวางแผนและวางกรอบการจ้างงานให้ดี ซึ่งเริ่มจากความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงานที่ต้องการพนักงานใหม่ก่อน ถ้าจะให้ดีควรกำหนดให้ชัดเจนว่า ตำแหน่งดังกล่าวต้องการทักษะอะไร แต่ละทักษะต้องการความเชี่ยวชาญมากน้อยเพียงใด
จำเป็นต้องมีประสบการณ์ด้วยหรือไม่ รวมทั้งต้องการคนที่มีทัศนคติและพฤติกรรมอย่างไรในขณะทำงาน เช่นต้องการคนที่มีประสบการณ์ด้านการเขียนโปรแกรมอย่างน้อย 5 ปี และต้องมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมที่มีแรงกดดันสูง เป็นต้น

      ส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ต้องระวัง คือการจ้างพนักงานจากความรู้สึกของตนเอง (โดยเฉพาะเจ้าของกิจการ
หรือหัวหน้างานมือใหม่ ต้องระวังเรื่องนี้ให้มาก) โดยไม่ได้สร้างกรอบการจ้างงานให้ชัดเจน หลายครั้งแค่ความรู้สึกถูกชะตาก็นำมาซึ่งการว่าจ้างได้และสุดท้ายก็นำไปสู่ความหายนะอย่างง่ายดายได้เช่นกัน

      อย่างไรก็ดี อย่าลืมว่าการวางกรอบสำหรับทักษะในการทำงานเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการ
คัดสรรความเหมาะสมของบุคคลคนนั้นได้ เพราะนอกจากเรื่องของทักษะแล้วยังมีปัจจัยอีกอย่างที่ต้อง
คำนึงถึงคือทัศนคติและพฤติกรรมของเขา ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญกว่าทักษะด้วยซ้ำไป

      เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า การมีทักษะน้อยหรืออ่อนด้อยประสบการณ์ ยังสามารถสอนให้เป็นหรือมีเพิ่มขึ้นได้ แต่การเปลี่ยนแปลงในเชิงทัศนคติและพฤติกรรมทำได้ยากกว่า จากประสบการณ์ของผม หลาย ๆ ครั้งที่ความล้มเหลวของการจ้างงานพนักงานใหม่เกิดขึ้นจากความไม่สามารถในการพัฒนาความ
สัมพันธ์ของพนักงานใหม่คนนั้นกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ในองค์กร

      ดังนั้นการที่จะรู้ได้ว่าเขามีพฤติกรรมอย่างไรก่อนรับเข้ามาร่วมงาน
จำเป็นต้องเสริมคำถามในช่วงของการสัมภาษณ์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มคำถามที่เป็นเชิงพฤติกรรมเข้าไป เช่น กรุณาเล่าให้ฟังถึงครั้งสุดท้ายที่คุณมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานคนอื่นและคุณแก้ปัญหานั้นอย่างไร เป็นต้น เพราะคำตอบจากคำถามเหล่านี้จะทำให้เราสามารถคาดเดาถึงอนาคตได้ว่า พฤติกรรมของเขาจะเป็นอย่างไร
คราวนี้ เมื่อหาคนที่คิดว่าใช่เข้ามาได้แล้ว ถัดมาคือการดูแลในเบื้องต้น
หลายครั้งที่หลายองค์กรทิ้งให้พนักงานที่มาใหม่หาทางในการทำงานเอง บอกแค่ว่าหน้าที่

      คืออะไรที่เหลือไปหาทางเอาเอง ผลที่ออกมาคือการไปไม่ถึงเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ดังนั้นเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราควรมีแนวทางในการช่วยเหลือและส่งเสริมให้พวกเขาอยู่รอดได้และประสบความสำเร็จด้วย

      สิ่งหนึ่งที่ทำได้และควรทำเพื่อช่วยในการสนับสนุนพนักงานใหม่ คือการสื่อสารให้ชัดเจนและชี้ให้เห็นถึงความคาดหวังที่องค์กรมีต่อเขา ทั้งในส่วนของผลสำเร็จของงานและพฤติกรรมในการทำงานประกอบกัน

      อย่างไรก็ดี แม้จะทำทุกอย่างแล้ว ผลสุดท้ายก็อาจจะยังได้คนที่ไม่เหมาะสมกับงานอยู่ดี และหากเป็นเช่นนั้นจริงสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกคือ ลองถามความคิดเห็นของคนอื่น ๆ   ในองค์กรดูว่าพวกเขารู้สึกอย่างที่คุณรู้สึกหรือเปล่า เพราะบางครั้งคุณอาจจะคิดไปเองก็เป็นได้

      จากนั้นหากพบว่า ส่ิงที่คุณคิดตรงกับคนอื่น ๆ ในองค์กร ขั้นตอนต่อไปคือลองถามตัวเองดูว่า
ที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนและพัฒนาเขาอย่างเพียงพอแล้วหรือยัง มีอะไรที่องค์กรควรทำแต่ยังไม่ได้ทำอีกไหม ต้องเข้าใจว่าความไม่มีประสิทธิภาพของคนเราเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ตราบเท่าที่ปัญหาไม่ใช่เรื่องของ
ความซื่อสัตย์สุจริตและจริยธรรมหรือศีลธรรม เราก็น่าจะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาได้บ้าง เช่น อาจจะให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างตรงไปตรงมาถึงความคาดหวังและผลงานที่ทำได้ หรือเข้าไปช่วยวางแผนการพัฒนาให้กับเขา รวมทั้งลองปรับเปลี่ยนหน้าที่ที่เหมาะสมให้ภายในองค์กร เป็นต้น ส่ิงเหล่านี้อาจช่วยให้เขาประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

      อย่างไรก็ตาม หากถามตนเองด้วยใจเป็นธรรมและคำตอบที่ได้คือได้ทำทุกอย่างที่ควรทำในการสนับสนุนและพัฒนาเขาแล้ว การตัดสินใจแยกทางกันอาจเป็นทางออกสุดท้ายที่ดีที่สุดก็เป็นได้

      ซึ่ง ณ จุดนี้วงจรการรับพนักงานใหม่ก็จะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกถึงเสมอ คือการนำเอาสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาเป็นบทเรียนในการหาแนวทางหรือสร้างกรอบการสรรหาและคัดเลือกพนักงานใหม่ให้ดีขึ้น...
เพื่อที่จะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นเดิมซ้ำอีก
 
 
 
ที่มา http://www.ezyjob.com
 
 
 

 

มุมนักเขียน ทัต ณ ฝั่งโขง

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
       
คิดบวกดอทคอม พระคุณพ่อ แม่ เพื่อน... เรื่องสุขภาพ




ความรักไม่มีขาย...แม่่ ความหมายของคำว่า เพื่อน
แด่คนที่รักเพื่อน ((((ดีมาก)))?
วิธีทำหน้าอกสวย
 
Satiti.com ฟรีสถิติ โค้ดสถิติ สถิติเว็บไซต์ ตัวอย่างสถิติ เว็บสถิติ จัดอันดับเว็บไซต์ ฟรีบริการเก็บสถิติเว็บไซต์
Copyright 2011 kidbuak.com